วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557

อองซาน ซูจี

อองซาน ซูจี : เส้นทางทางการเมืองของสตรีเหล็ก ที่มุ่งมั่นต่อหน้าที่เพื่อชาติ


อองซาน ซูจี เส้นทางทางการเมืองของสตรีเหล็ก ที่มุ่งมั่นต่อหน้าที่เพื่อชาติ
อองซาน ซูจี ถูกส่งให้มายุ่งเกี่ยวกับการเมืองโดยสายเลือด เพระเธอเกิดมาเป็นลูกของนายพล อองซาน ซึ่งเป็นผู้นำประชาชนปลดแอกจากอังกฤษ แม้ว่านายพลอองซานจะถูกลอบสังหารในเวลาต่อมา แต่เขาก็ได้รับการยกย่องมากในฐานะวีระบุรุษของชาติพม่าเลยทีเดียว
นอกจากนั้น แม่ของอองซาน ซูจี ยังเป็นทูตพม่าประจำอินเดีย ที่ซึ่งเธอได้รับการศึกษาแบบตะวันตกอย่างเข้มข้น จนเข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด และได้พบรักกับ ไมเคิล อลิส และแต่งงานกันในเวลาต่อมา … เธอจึงเป็นผู้หญิงแถวหน้าที่มีไลฟ์สไตล์และความคิดอ่านไปในทางตะวันตก
ความจริงแล้วการศึกษาอาจจะไม่เกี่ยวเท่าไหร่กับการที่เธอกลายเป็นนักเคลื่อนไหว แต่การที่เธอเป็นหญิงพม่าที่ทำงานในองค์การสหประชาชาติในนิวยอร์ก ภูฏาน ในสมัยที่นายอูทั่น เป็นเลขาธิการองค์กรที่ทรงอิทธิพลในยุคนั้น จึงส่งให้เธอเป็นดาวเด่นของประเทศไปโดยปริยาย
ประเทศพม่านับตั้งแต่ปลดแอกออกมาจากการปกครองของอังกฤษ ได้ตกอยู่ในการครอบงำของกองทัพมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการครองอำนาจอย่างยาวนานของนายพล เนวิน ถึง 35 ปี ได้ทำให้ประเทศพม่ากลายเป็นดินแดนที่ล้าหลังสุดๆ
ในปี 2530 รัฐบาลพม่าประกาศยกเลิกธนบัตรหลายชนิดโดยไม่มีการประกาศล่วงหน้า อีกทั้งยังไม่ให้คนที่ถือเงินเหล่านั้นเอาเงินที่ถืออยู่มาแลกธนบัตรใหม่ … ส่งผลให้เงินตราในกระเป๋าของประชาชนหดหายไปราวร้อยละ 70
แน่นอน … คนนับแสนเริ่มก่อหวดแสดงความไม่พอใจต่อรัฐบาลและมองมาที่ความเป็นเผด็จการของทหารว่าเป็นสาเหตุใหญ่ … เสียงเรียกร้องประชาธิปไตยเริ่มดังขึ้นไปทั่วประเทศพม่า
ช่วงนั้น นางอองซาน ซูจีซึ่งกำลังไฟแรง … เธอ ริเริ่มทำโครงการห้องสมุดประชาชนเพื่อให้คนพม่ารู้หนังสือมากขึ้น และได้ทำในนามนายพลอองซาน พ่อของเธอ ซึ่งยังเป็นวีระบุรุษในดวงใจของคนพม่าอยู่เสมอ
เหตุการณ์ที่กำลังดำเนินไปในพม่าขณะนั้น ส่งผลให้ผู้คนโหยหาผู้นำที่มีภาพลักษณ์ยอดเยี่ยม อินเตอร์ และมีสายเลือดของนักประชาธิปไตย เมื่อนางอองซาน ซูจี กลับมายังพม่า มันเลยประจวบเหมาะและสมบูรณ์แบบสำหรับผู้ที่กำลังประท้วงที่กำลังพยายามที่จะจัดตั้งพรรคการเมือง เพื่อเอามาสู้กับอำนาจทหารที่ปกครองประเทศมาโดยตลอด
เมื่อนายพลเนวิน ลาออกจากตำแหน่ง โดยอ้างว่าเพื่อเป็นการรับผิดชอบในความวุ่นวายที่เกิดขึ้น รวมถึงเศรษฐกิจที่ตกต่ำสุดขีดในเดือนกรกฎาคม … แต่การลาออกครั้งนั้น เหมือนกับการเปลี่ยนแค่ส่วนหัว เพราะทุกอย่างยังเหมือนเดิม
ขบวนการนักศึกษาและประชาชนยังเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อกดดันให้ให้กลุ่มทหารยอมปล่อยอำนาจ และให้พม่ามีประชาธิปไตย
หนึ่งเดือนถัดมา … ในเดือนสิงหาคม เหตุการณ์นองเลือดได้เกิดขึ้น เมื่อตำรวจพม่าจับนักศึกษาที่มาทำการประท้วง ส่งผลให้เกิดการชุมนุมเพื่อกดดันให้ปล่อยตัวนักโทษ ซึ่งก็คือนักศึกษาในเวลานั้น … แต่แทนที่ตำรวจจะปล่อยตัวพวกเขา กลับเอาปืนกลไล่ยิงผู้ชุมนุมอย่างเมามัน เท่านั้นเอง การชุมนุมก็เกิดขึ้นทั่วประเทศ
วันที่ สิงหาคม 2531 ประชาชนนับล้านรวมตัวกันในกรุงย่างกุ้ง เมืองหลวงของพม่า เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย แต่ผู้นำทหารสั่งให้ใช้กำลังอาวุธ ทั้งอาวุธนัก และอาวุธเบาเข้าสลายการชุมนุม ทำให้มีการสูญเสียชีวิตผู้คนหลายพันคน
อาจจะเป็นเพราะความสะเทือนใจในสภาพดังกล่าว … ทำให้อองซาน ซูจี ตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองเป็นครั้งแรก ในวันที่ 15สิงหาคม 2531 โดยส่งจดหมายเปิดผนึกถึงรับบาล เรียกร้องให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อเตรียมการเลือกตั้งทั่วไป
ความกล้าหาญครั้งนี้ ทำให้เธอถูกเลือกให้เป็นผู้นำอย่างไม่เป็นทางการของการเรียกร้องประชาธิปไตย … หนึ่งสัปดาห์ต่อมา คือเมื่อวันที่ 26สิงหาคม 2531 อองซาน ซูจี ขึ้นกล่าวคำปราศรัยเป็นครั้งแรกต่อหน้าผู้คนกง่าครึ่งล้าน ที่มาชุมนุมกันที่เจดีย์ชเวดากอง ในกรุงย่างกุ้ง เรียกร้องให้มีรัฐบาลประชาธิปไตย
หากแต่ผู้นำทหารกลับตั้งสภาฟื้นฟูกฎระเบียบแห่รัฐ (The State Law and Order Restoration Council) ซึ่งหมายความว่าระบบท๊อปบู๊ทอย่างเป็นทางการได้เริ่มต้นขึ้นอักครั้งหนึ่งตามมติของสล๊อร์ก (SLOG) ซี่งได้สั่งให้ทหารเคลื่อนรถถังหุ้มเกราะและอาวุธหนักเข้าจัดการกับขบวนการประชาชนทันที ทำให้มีการเสียชีวิตเลือดเนื้อกันอีกรอบ
วันที่ 24 กันยายน 2531 อองซาย ซูจี ได้ร่วมจัดตั้งพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (National League for Democracy : NLD) เธอได้รับเลือกให้ดำรงตำแหย่งเลขาธิการพรรค พร้อมประกาศจะนำสมาชิกพรรคที่เป็นประชาชนและนักศึกษาเข้าสู้ศึกเลือกตั้งที่สล๊อร์กสัญญากับนานาชาติว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้งแน่นอน
ในขณะที่ความตึงเครียดเริ่มจะเบาบางลง หลายเดือนถัดมา รัฐบาลทหารพม่าก็ประกาศกฎอัยการศึก พร้อมสั่งกักตัวและสั่งจับบรรดาสมาชิกพรรคการเมืองคนสำคัญของพรรค NLD บานที่ทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในประเทศ … แน่นอนคนที่โดนในลำดับต้นๆคงไม่พ้น ตัวของนางอองซาน ซูจี นั่นเอง
ประกาศของสล๊อร์ก ต่อ อองซาน ซูจี มีขึ้นครั้งแรกตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2532 โดยประกาศกักบริเวณเธอให้อยู่ภายใต้การดูแลของทหาร โดยบริเวณที่กักก็คือบ้านของเธอเองเป็นเวลา ปี และต่อมาขยายเป็น ปี โดยไม่มีข้อหาอะไรเพิ่มเติม
อองซาน ซูจี สู้กลับโดยใช้ชีวิตเป็นเดิมพัน ด้วยการอดอาหารประท้วง แถมเรียกร้องให้รัฐบาลทหารเอาเธอไปขังรวมกับสมาชิกพรรคคนอื่นๆที่โดนจับและโดนทรมาน ท่ามกลางแรงกดดันของนานาชาติ … ในที่สุดรัฐบาลพม่าก็ยินยอมที่จะปฏิบัติต่อนักโทษเหล่านั้นอย่างดี ไม่มีการทรมาน … อองซาน ซูจี เลยยกเลิกการอดอาหารประท้วง และรอดชีวิตมาได้
แต่กระนั้น การที่เธอยอมเอาชีวิตเข้าแลก ก็ส่งผลต่อการเลือกตั้งอย่างรุนแรง เพราะการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2533 ซึ่งเธอและสมาชิกพรรคคนสำคัญโดนขังอยู่ แต่ประชาชนกลับเลือกพรรคของเธออย่างถล่มทลาย
ตามธรรมเนียมการเลือกตั้ง … เมื่อแพ้การเลือกตั้ง ทุกอย่างจะถูกถ่ายโอนอำนาจไปให้แก่พรรคที่ได้รับชัยชนะ แต่รัฐบาลทหารพม่าขณะนั้น กลับไม่ยอมประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ และปฏิเสธที่จะมอบอำนาจที่ประชาชนเลือกให้กับหญิงเหล็กชาวพม่าคนนี้
ที่หนักกว่านั้นก็คือ … รัฐบาลทหารพม่าประกาศที่จะปล่อย อองซาน ซูจี ให้ไปยู่ต่างประเทศกับครอบครัว กับลูกและสามี ถ้าเธอยอมลาออกจากพรรค NLD และยอมวางมมือจากการเมืองทั้งหมด … แต่อองซาน ซูจี ไม่ยอมรับ เธอปฏิเสธข้อเสนอและยอมที่จะถูกกักบริเวณต่อไป แทนการละทิ้งอุดมการณ์ที่มี และยอมแพ้ออกไปจากประเทศที่เป็นแผ่นดินแม่ของเธอ
รัฐบาลทหารสนองกลับเต็มเหนี่ยวด้วยการเพิ่มคำสั่งกักบริเวณเธออีกหลายปี ทำให้ ปีถัดมา คณะกรรมการโนเบลประกาศให้ อองซาน ซูจี ได้เป็นผู้รับรางวับโนเบลสาขาสันติภาพ ตบหน้ารัฐบาลทหารของพม่าเข้าฉาดใหญ่ … อองซาน ซูจี ประกาศใช้เงินรางวัล 1.3 ล้านเหรียญ จัดตั้งกองทุนเพื่อสุขภาพและการศึกษาให้กับประชาชนพม่า ต่อมาเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2538 ซุจี ได้รับอิสรภาพจากการถูกกักบริเวณเป็นครั้งแรก… แต่หลังจากนั้น เธอถูกกักบริเวณอีกหลายครั้ง จนในที่สุดเมื่อปลายปี 2553 เธอได้รับการปล่อยให้เป็นอิสระ และลงสู่สนามเลือกตั้งอีกครั้ง และได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอย่างงดงาม
ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลทหารพม่าอยู่ไม่เป็นสุขจากการกระทำของเธอ … เธอเขียนและส่งข้อมูลเรื่องการละเมิดอำนาจประชาชน การเผด็จการ และการก่ออาชญากรรม ให้กับประเทศทางตะวัยตกอย่างต่อเนื่อง เธอทำให้มีข่าวอยู่เรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นการยืนเผชิญหน้ากับกับตำรวจเป็นเวลา วัน … หรือการขับรถออกจากบ้าน แต่เจอการขวางทางโดยด่านตำรวจ เธอก็ประท้วงโดยการไม่ออกตจากรถ และอยู่ในนั้นจนกระทั่งเสบียงหมด … อองซาน ไม่ตาย แต่รัฐบาลทหารพม่าปวดหัวอย่างที่สุด
รัฐบาลทหารของพม่าอยู่ไม่เป็นสุข จากการกระทำของ อองซาน ซูจี … เมื่อถึงยุคที่โลกล้อมพม่า และภายใต้การสั่นคลอนของอองซาน ซูจี สุดท้ายรัฐบาลพม่าก็ยอมแพ้ และยอมปล่อยให้เธอออกมาเคลื่อนไหวทางการเมือง รวมถึงยกเลิกคำสั่งกักบริเวณ ทำให้เธอสามารถออกมาพบผู้คน และชาวโลกได้
หลังจากที่มีการปล่อยตัวเธออย่างเป็นทางการ … ผู้นำและผู้มีชื่อเสียงระดับโลกมากมายหลายคน เดินทางไปเยี่ยมเธอที่บ้านพักในพม่า รวมถึงนางฮิลลารี่ คลินตัน ซึ่งพบกับเธอในเดือนธันวาคม 2011 นายเดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ที่มาพบกับเธอในเดือนเมษายนที่ผ่านมา … นายกสวยใสของไทยก็ไม่พลาด ไปพบกับเธอมาแล้วค่ะ
ล่าสุด … การปรากฏตัวของ อองซาน ซูจี ในประเทศไทย ซึ่งเป็นการเดินทางออกมานอกประเทศพม่าเป็นครั้งแรกในรอบ 24 ปี เธอก็ได้เคลื่อนไหวโดดเด่นในเวที World Economic Forum จนนายเต็ง ส่วย นายกรัฐมนตรีของพม่า ต้องประกาศยกเลิกการมาร่วมการประชุมในเวทีเดียวกัน เพราะไม่มีบทบาทที่สำคัญให้เล่นและดึงความสนใจของชาวโลกไปจากอองซาน ซูจี (แม้จะอ้างว่า เป็นเพราะประเทศไทยยอมให้อองซาน ซูจี ใช้ไทยเคลื่อนไหวทางการเมืองต่อต้านรัฐบาล)
หลังจากการเยือนเมืองไทย อองซานซุจีจะกลับไปพม่า แล้วเดินทางไปยุโรป โดยจะแวะที่กรุงเจนีวา และออสโล เพื่อรับรางวัลโนเบล ที่เธอควรจะไปรับเมื่อ 21 ปีที่แล้วที่เมืองดับลิน ก่อนที่จะเดินทางไปลอนดอนเพื่อพบกับลูก ที่จะจัดงานฉลองวันเกิดครบรอบ 67 ปีให้กับเธอ
---------------------------------------
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา … อาจจะมีบางคนคิดว่า เธอช่างโหดร้ายที่ทิ้งครอบครัว โดยเฉพาะลูกที่ยังเล็ก เพียงเพื่อต้องการทำในสิ่งที่เธอสนใจ… หรือแม้กระทั่งยามที่สามีล้มป่วยด้วยโรคมะเร็ง และกำลังจะตาย และไม่สามารถมาพบกับเธอในพม่าได้เพราะรัฐบาลพม่าไม่ยอมออกวีซ่าให้(ทั้งคู่พบกันครั้งสุดท้ายในปี 1995 และสามีของเธอเสียชีวิตในปี 1999)
เธอตอบคำถามในเวที World Economic Forum ถึงเรื่องความเข้มแข็ง และแรงบันดาลใจที่ทำให้เธอเป็นเธอดังเช่นทุกวันนี้ว่า 
ดิฉันเชื่อว่าสายเลือด (DNA) มีส่วนอย่างมากในเรื่องนี้ แต่ดิฉันคิดว่าควรจะพูดถึงบางสิ่งที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน คุณแม่ของดิฉันสอนให้ดิฉันเป็นคนที่มีระเบียบวินัย รวมถึงให้สำนึกใน หน้าที่ที่ต้องทำ” เหนือสิ่งอื่นใด
คุณแม่สอนดิฉันไม่ใช่เพียงแค่ว่า หน้าที่นั้นมีความสำคัญมากแค่ไหนในชีวิตของคน แต่ยังรวมถึงการแสดงให้เห็นเป็นตัวอย่างด้วย เธอสอนดิฉันว่า หน้าที่” นั้นมีความสำคัญที่สุดในชีวิตของคนเรา ซึ่งดิฉันไม่รู้ว่าท่านที่อยู่ ณ ที่นี้จะเห็นด้วยหรือไม่นะคะ … และแน่นอนค่ะ เราสามารถจะถกเถียงกันได้ไม่จบในความหมายของคำว่า หน้าที่
ดังนั้น มันจึงเป็นธรรมชาติของดิฉันเอง ที่จะต้องทำหน้าที่ให้เสร็จสมบูรณ์ด้วยความสามารถสูงสุดที่ดิฉันมีอยู่ในตัว ... ดิฉันไม่สามารถที่จะบอกว่า การทำเยี่ยงนี้มันดีเสมอไป รวมถึงไม่สามารถที่จะพูดได้ว่า ดิฉันเลือกที่จะทำหน้าที่ก่อนสิ่งอื่นๆเสมอ … แต่ดิฉันพูดได้เต็มปากว่า ดิฉันพยายามที่สุดเสมอ
-----------------
นี่คือเรื่องราวเส้นทางชีวิตของผู้หญิงตัวเล็กๆที่มีสถานะเป็นแม่บ้าน มาจนถึงผู้ปฏิวัติทางการเมือง และนักโทษการเมืองที่มีผู้กล่าวขวัญถึงมากที่สุดในโลก ท่ามกลางการเรียกร้องจากนานาชาติให้ปล่อยเธอ
.:.:.: หากจะมีใครสักคนที่ทำลายทำนบของเผด็จการท๊อปบู๊ทด้วยความอดทน อหิงสา และเยือกเย็น เต็มเปี่ยมความมุ่งมั่น นับจากคานธี ก็คงจะเป็น อองซาน ซูจี คนนี้ คนเดียวนี่เองที่โดดเด่น เจ๋งสุดค่ะ :.:.:.
ขอบคุณ เนื้อความบางส่วนจาก ประชาชาติธุรกิจ และภาพประกอบจาก msn.in และจากคุณปุ๋ย ... เพื่อนที่เปี่ยมมิตรภาพยาวนาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น