วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557

เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นที่แหลมกู๊ดโฮป

ปรับปรุงจาก จดหมายเหตุการเดินทาง ครั้งที่ 2
ของ บาทหลวงตาชาร์ด พ.ศ. 2230-2231
สันต์ ท. โกมลบุตร แปล, กรมศิลปากร พิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2519
                      ราชทูตสยามเรือแตกที่แอฟริกาใต้ใกล้แหลมกู๊ดโฮป มีเหตุจากนโยบายผูกสัมพันธ์กับตะวันตกในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์
                      พระองค์ได้ส่ง “โกษาปาน” ไปเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศส คณะทูตชุดที่ 2 จึงถูกส่งตามไปอีก คราวนี้มุ่งไปสู่ราชสำนักโปรตุเกสแต่
                      ทว่าเรือที่นำคณะทูตไปโปรตุเกสต้องแตกเสียก่อน
                      หนึ่งในราชทูตสยามที่รอดตายจากเหตุการณ์เรือแตกคราวนั้นคือ ขุนชำนาญใจจง ได้เล่าถึงเหตุการณ์ความทุกข์ยากลำบากที่ต้องเผชิญหลังจากวันเรือแตก ตลอด 1 เดือนที่ต้องอดอยากและระหกระเหินเดินทางไปในป่าแอฟริกา เพื่อจะไปให้ถึงสถานีการค้าของพวกฮอลันดา          ที่แหลมกู๊ดโฮป นับเป็นช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุด
                      ชีวิตที่ตกอยู่ในระหว่างความเป็นและความตาย อาศัยเพียงความอดทนอย่างใหญ่หลวง ความกล้าหาญและกำลังใจที่เข้มแข็งเท่านั้นที่เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงชีวิตให้ดำรงอยู่ นับเป็นเรื่องยากที่จะมีใครสักคนสามารถทำได้เรือแตกใกล้แหลมกู๊ดโฮป
                       
                      ปลายเดือนเมษายน พ.ศ. 2229 (ค.ศ. 1686) เรือได้แล่นถึงแอฟริกา บริเวณแหลม Agulhas อีกไม่ไกลนักก็จะถึงแหลมกู๊ดโฮป ซึ่งที่นั่นเป็นที่ตั้งสถานีการค้าของพวกฮอลันดา
                      เรือชนแนวหินโสโครก เนื่องจากต้นหนเรือดูทิศทางผิดพลาด สั่งการเพราะความประมาทเลินเล่อ สายเกินกว่าจะแก้ไขสถานการณ์ได้ทัน
                       
                       
                      ไม่นานนักเรือก็แตก มีเสียงระเบิดดังสนั่นหวั่นไหว
                      คนที่หนีรอดต่างพยายามว่ายน้ำเข้าหาฝั่ง ขุนชำนาญฯ เป็นหนึ่งในจำนวนนั้น แม้จะเหน็ดเหนื่อยแต่เขาได้ว่ายน้ำกลั บไปที่เรืออีกครั้ง   เพื่อค้นหาว่ามีสิ่งใดที่พอจะติดตัวมาได้บ้าง    ที่ได้ติดตัวกลับมาเป็นพวกเครื่องประดับทอง  ไวน์  และขนมปังก รอบเท่านั้น เขาไม่กล้าฝากไวน์ไว้กับชาวสยามด้วยกัน เพราะไม่ไว้ใจกลัวจะแย่งกินหมด แต่กลับไปฝากไว้กับคนโปรตุเกสซึ่งแสดง ท่าทางเป็นมิตร ได้ตกลงสัญญากันเป็นมั่นเป็นเหมาะ แต่จะไว้ใจอะไรได้ง่ายกับคนที่เพิ่งรู้จักกัน หมอนั่นย่อมได้กินแค่ 2-3 วันแรกเท่านั้น พอไปทวงถามเข้าอีกวันหลังกลับไม่ยอมให้กินอีก
                      ขนมปังที่เอามาจากเรือก็กินไม่ได้ ไวน์ก็ไม่ได้กิน  น้ำกินก็หาไม่ได้  เท่ากับว่าไม่มีอะไรที่จะกินได้เลย จึงต้องอดอยากกันมานับตั้งแต่นั้น
                      จากจุดที่เรือแตกถ้าไปถึงแหลมกู๊ดโฮปได้   ทุกคนก็จะรอดตายได้ทั้งหมด
เมื่อตั้งหลักหาทิศทางที่จะไปได้  ก็เริ่มต้นเดินทางกันทันที  แต่ห นทางข้างหน้าจะลำบากอย่างไร และจะไปถึงกันเมื่อไหร่นั้น ไม่มีใครจะรู้ได้

                      กินรองเท้า
                      วันแล้ววันเล่าที่ล่วงผ่านไป  ก็อาศัยกินใบไม้ ดอกไม้ แม้แต่หญ้าข้างทางหรือต้นไม้เล็กๆ ที่ขึ้นตามริมน้ำ กินพอประทั งความหิว รสชาติที่ขมฝืดคอ แต่เพื่อเพิ่มกำลังให้กับร่างกาย ก็กล้ำกลืนลงไปจนได้
                      อาศัยดูดน้ำจากรากไม้ พอให้แตะๆ   ลิ้นแก้กระหาย เมื่อต้องอดอยากมาถึงป่านนี้ ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตามก็กินได้หมด สภาพร่างกายกลับย่ำแย่ลงทุกวัน แรงก็ลดน้อยถอยลง ความทุกข์ ทรมานที่ถ้าใครไม่ได้ประสบกับตัวเองแล้วไซร้ จะให้อธิบายอย่างไรก็คงไม่เข้าใจ
                      เมื่อหาอะไรกินไม่ได้ ทุกคนแทบจะตายกันอยู่แล้วเพราะความหิว มองไปมองมารอบตัวก็ไม่มีอะไรที่จะกินได้ อับจนหนทางกันจริงๆ ก็กินรองเท้าที่ใส่กันนั่นเอง
                      จัดการก่อกองไฟ ฉีกรองเท้าออกเป็นแผ่นแล้วโยนเข้ากองไฟ เวลาเคี้ยวรองเท้าแทบจะไม่รู้รสอะไร หมวกก็พบกับชะต ากรรมเดียวกัน แต่พอโยนลงไปก็ไหม้ไฟเกือบหมด เหลือพอจะกินได้แค่นิดหน่อย รสชาติก็ไม่ต่างอะไรจากรองเท้า แต่ขมและน่าสะอิดสะเอียนมากกว่า         แค่นั้นเอง
                      นับเป็นโชคดีของคณะเดินทางอีกหนหนึ่งที่ได้เจอกับพวกคนป่า ดูท่าทางเหมือนว่าพวกนี้เคยติดต่อกับชาวต่างประเทศ เพราะเมื่อเจอกันพวกนั้นตะโกนทักพร้อมชูนิ้ว 6 นิ้ว แล้วพูดว่า “ฮอลันดา ฮอลันดา”
                      ตัดสินใจกันว่าจะตามพวกนั้นไป จะเป็นตายร้ายดียังไงก็ต้องลองเสี่ยงดู
                      ต่อจากนั้นต้องเดินทางอย่างระหกระเหินกันอีกครั้ง หนทางก็แสนจะลำบาก ต้องปีนป่ายเขา อันตรายกว่าที่เคยเจอมาเสี ยอีก เรี่ยวแรงกำลังที่เคยมีก็ลดน้อยลงจนแทบจะไม่เหลืออีกต่อไป เป็นเวลากว่า 31 วันแล้ว ที่ต้องทนทุกข์ทรมานอยู่อย่างนี้โดยยังไม่ตายเสียก่อน
                      ในที่สุดก็ได้เจอกับพวกฮอลันดา  พวกเขาเป็นเหมือนผู้ให้ชีวิตใหม่แก่ทุกคน ทั้งหมดดีใจที่รอดตาย แต่ร่างกายก็สะบักส ะบอมเต็มที เรียกว่าต้องแบกหามคนใส่เกวียนบรรทุกกันไปจนถึงสถานีการค้าของพวกนั้น  บนแหลมกู๊ดโฮปเลยทีเดียว พักฟื้นอยู่ที่ นั่นเป็นเวลาหลายเดือน      เมื่อหายดีแล้วก็ได้เดินทางกลับสู่ประเทศสยามโดยปลอดภัย  เรื่องราวของคณะทูตที่เรืออับปางอยู่ที่ทวีปแอฟริกาได้จบลงเพียงแค่นี้
                      ในปี พ.ศ. 2230 (ค.ศ. 1687) ขุนชำนาญใจจงเดินทางกลับสู่ประเทศสยามโดยปลอดภัย
                      แต่มีผู้สงสัยว่าเรื่องราชทูตสยามเรือแตกนี้จะไม่ได้เกิดขึ้นจริงแต่มีผู้กุขึ้นมา

เดินทางไปยุโรปอีก
                      ในปีเดียวกันนั้นเองหลังจากกลับมาได้ไม่กี่เดือน ขุนชำนาญฯ ก็ได้รับหน้าที่สำคัญอีกครั้งหนึ่ง เขาได้เป็นตัวแทนออกไปต้อนรับทูตจากฝรั่งเศส อันมี ลาลูแบร์ และ เซอเบอเรต์ ที่เข้ามาสู่ประเทศสยาม
                      และได้เดินทางไปที่ยุโรปอีกครั้งในปี พ.ศ. 2231 ( ค.ศ. 1688 ) คราวนี้ได้รับความสะดวกสบายผิดกันลิบลับกับการเดินทางในครั้งแรก
                      ในครั้งนี้ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระสันตะปาปาที่กรุงโรม พระองค์ได้ให้จิตรกรที่มีชื่อเสียงขณะนั้น วาดภาพของขุนนา งสยามที่ได้มาเข้าเฝ้าพระองค์ไว้ด้วย ดังรูป ที่เห็นอยู่นี้คือผลงานภาพวาดที่ได้ลงชื่อขุนนางนั้นเป็นอักษรไทยไว้ใต้ภาพด้วย (ภาพเขียนนี้จัดเก็บอยู่ในห้องสมุดของสำนักวาติกัน)
                      หลังจากได้เข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่ฝรั่งเศส ก็เดินทางกลับสู่ประเทศสยามในปี พ.ศ. 2233 (ค.ศ. 1690) 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น