วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557

ผู้พิชิตแห่งท้องทะเล - ผู้ที่แล่นเรือรอบโลกคนแรก

ผู้พิชิตแห่งท้องทะเล -
ผู้ที่แล่นเรือรอบโลกคนแรก

อเมริกาตั้งชื่อตามชื่อของอเมริโก เวสปุสซี่
ทวีปอเมริกาได้รับการตั้งชื่อตามอเมริโก เวสปุสซี่ ใน ค.ศ. 1507
โจชัว สโลคัม - ชายคนแรกที่แล่นเรือรอบโลกคนเดียว
โจชัว สโลคัม คือชายคนแรกที่ แล่นเรือรอบโลกคนเดียว (ค.ศ. 1895-1898) เขาเริ่มออกเดินทางจากวีนยาร์ดเฮเว่น ในวันที่ 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1909 โดยวางแผนว่าจะเดินทางไปถึงแถบอเมซอน แต่เขาก็ หายสาปสูญไปกับเรือของเขา
เมื่อ ค.ศ. 120 โทเลมี (คลาวดิอัส โทเลเมอัส) นักคณิตศาสตร์และดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ ได้ประดิษฐ์แผนภาพมากมายที่สามารถใช้แสดงพื้นที่ที่เป็นพื้นผิวโค้งของโลกบนพื้นผิวราบได้ ความคิดทางภูมิศาสตร์ของเขาได้เริ่มเป็นที่รู้จักในยุโรปใน ค.ศ. 1406 เมื่อมีการประดิษฐ์แท่นพิมพ์ ใน ค.ศ. 1450 แผนภาพของเขาจึงได้รับการตีพิมพ์และเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง
บริษัทขนส่งสินค้าชื่อ คิวนาร์ด ลาโคเนีย ได้เป็นผู้ริเริ่มการล่องเรือเที่ยวรอบโลกที่ลาโคเนีย ใน ค.ศ. 1922
รูปจำลองเรือของแมกเจลแลน
รูปจำลองเรือที่ เฟอร์ดินานด์ แมกเจลแลน ใช้ในการเดินเรือรอบโลกเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
เรือสเปรย์ของโจชัว สโลคัม - ผู้เดินทางรอบโลกคนเดียวเป็นคนแรก
โจชัว สโลคัม เป็นชายคนแรกที่ เดินทางรอบโลกคนเดียวด้วยเรือสเปรย์ เสากระโดงเดียวขนาด 37 ฟุตของเขา
เรือยิปซีมอธที่ 4 ของ ซีเชสเตอร์
ฟรานซิส ซีเชสเตอร์ เป็นคนแรกที่เดินทางรอบโลกด้วยเรือยิปซีมอธที่ 4 โดยแวะพักเพียงครั้งเดียว
ยุคแห่งการค้นพบ
ยุคแห่งการค้นพบเริ่มขึ้นด้วยนักผจญภัยทางทะเลผู้ยิ่งใหญ่ซึ่งค้นหาเส้นทางการค้าเครื่องเทศในแถบตะวันออกไกล เมื่อเส้นทางด้านทะเลเมดิเตอเรเนียนตะวันออกถูกสกัดกั้นไว้ด้วยคู่แข่งที่มีอำนาจมาก เมื่อวาสโก ดากามา แล่นเรือรอบแหลมกู๊ดโฮปเพื่อเดินทางไปสู่อินเดียใน ค.ศ. 1488 เป็นช่วงที่ชาวโปรตุเกสต่างพยายามหาทางเดินทางไปสู่ทางใต้และทางตะวันออก ส่วนชาวสเปนที่ได้ตกลงกับชาวโปรตุเกสให้แบ่งโลกเป็นสองส่วนตามสนธิสัญญาทอร์เดซิลิอัส เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 1494 ได้แล่นเรือไปทางตะวันตก โดยที่ไม่เคยรู้เรื่องเกี่ยวกับทวีปอเมริกาเลย และก็ไม่มีใครรู้ว่ามีมหาสมุทรแปซิฟิกอยู่
คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (ค.ศ. 1451-1506) ชาวอิตาลีซึ่งได้ย้ายไปอยู่ประเทศสเปน ได้เสนอทฤษฎีไว้ว่า ในเมื่อโลกเป็นทรงกลม เรือก็ควรจะไปยังฝั่งตะวันออกไกลได้จากทิศทางที่ตรงกันข้าม เขาได้โน้มน้าวให้กษัตริย์และพระราชินีช่วยสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเดินทางค้นหาของเขา โดยเริ่มออกเรือในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1492 เมื่อเวลาผ่านไป 10 สัปดาห์ เขาก็มองเห็นเกาะแห่งหนึ่งในบาฮามาส ซึ่งเขาตั้งชื่อว่าซาน ซัลวาดอร์ โคลัมบัสคิดว่าพบเกาะที่อยู่ใกล้ญี่ปุ่น เขาจึงเดินเรือต่อไปจนถึงคิวบา (ซึ่งเขาคิดว่าเป็นประเทศจีน) และเฮติ แล้วเขาก็ได้พบผู้คนผิวคล้ำซึ่งเขาเรียกว่า “ชาวอินเดีย” เพราะคิดว่าตนเองได้แล่นเรือมาถึงมหาสมุทรอินเดียแล้ว
โคลัมบัสได้เดินทางสู่โลกใหม่ที่เขาคิดว่าเป็นซีกโลกตะวันออก อีก 3 ครั้ง ใน ค.ศ. 1493 ค.ศ. 1497 และ ค.ศ. 1502 โดยสำรวจไปทางเปอร์โตริโก เวอร์จินไอส์แลนด์ จาเมก้า และตรินิแดด แต่เขาไม่เคยไปถึงทวีปอเมริกาเหนือ และคิดว่าตนได้ไปถึงทวีปเอเชียแล้วจนกระทั่งเขาเสียชีวิตลง
ทวีปอเมริกาเหนือถูกค้นพบแล้ว
เรือไวกิ้งได้แล่นไปถึงอเมริกาเหนือก่อนที่โคลัมบัสจะเริ่มเดินเรือเกือบ 500 ปี บิอาร์นี่ เฮริออล์ฟซอน เริ่มเดินเรือจากไอซ์แลนด์ในช่วงกลาง ค.ศ. 990 แล้วเรือของเขาก็ถูกพัดออกนอกเส้นทางและไปขึ้นฝั่งที่ดินแดนแห่งหนึ่งซึ่งไม่รู้จัก แต่เขาไม่ได้สำรวจหรือตั้งชื่อดินแดนดังกล่าว ใน ค.ศ. 1002 เลฟร์ เอริกสัน ( ได้เดินทางซ้ำรอยของบิอาร์นี่ และไปถึงชายฝั่งที่เป็นประเทศแคนาดาในปัจจุบัน ในตอนนั้นเขาได้เดินเรือไปทางใต้และพบเกาะที่เขาเรียกชื่อว่าวินแลนด์ (ปัจจุบันคือนิวฟันด์แลนด์) ที่ซึ่งเขาตั้งอาณานิคม และทำการค้าอยู่เป็นเวลา 3 ปี กับชาวพื้นเมืองที่เรียกกันว่าชาวสเกรลลิ่ง ในที่สุดชาวสเกรลลิ่งก็ไล่เขาออกไป แต่ชาวไวกิ้งก็ยังคงแล่นเรือไปยังแคนาดาเพื่อหาซุงต่อไป
"ดินแดนที่ค้นพบใหม่"
ใน ค.ศ. 1497 กษัตริย์เฮนรี่ที่ 8 มีพระบรมราชานุญาตให้ จอห์น คาบอท (ค.ศ. 1450-1498) เดินทางสำรวจ ดังนั้นในวันที่ 2 พฤษภาคม คาบอทและคณะจำนวน 18 คน ออกเดินทางจากเมืองบริสตอล ประเทศอังกฤษ ด้วยเรือลำเล็กๆ ชื่อ “แมทธิว” เขาแล่นเรือไปทางเหนือไกลกว่าที่โคลัมบัสเคยไป ซึ่งออกนอกอาณาเขตของสเปน ในวันที่ 24 มิถุนายน คณะเดินทางก็มองเห็นแผ่นดิน โดยคาบอทเชื่อว่าเขาได้พบเกาะนอกชายฝั่งของทวีปเอเชีย และตั้งชื่อว่า "ดินแดนที่ค้นพบใหม่” (new found land) ซึ่งถือว่าเป็นการเดินทางสู่นิวฟันด์แลนด์ครั้งแรก ที่ได้รับการบันทึกไว้นับตั้งแต่สมัยที่ชาวไวกิ้งเดินทาง คาบอทได้เดินทางกลับสู่ประเทศอังกฤษเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1497 และถึงแม้ว่าเขาจะไม่ได้นำเครื่องเทศหรือสมบัติใดๆ กลับไปด้วย แต่เขาก็เป็นคนแรกที่เดินทางสำรวจชายฝั่งอเมริกาเหนืออย่างจริงจัง
การตั้งชื่อ "อเมริกา"
เส้นแบ่งเขตแดนโปรตุเกสและสเปนนั้นได้ลากผ่านมหาสมุทรแอตแลนติก โดยที่สเปนได้ดินแดนทางด้านตะวันตก รวมทั้งอเมริกา ส่วนบราซิลเป็นของโปรตุเกส ซึ่งได้ดินแดนแอฟริกาตะวันออก และอินเดีย แต่ด้วยเหตุที่ว่าไม่มีการวัดขนาดพื้นที่อย่างชัดเจน จึงยังคงมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเส้นแบ่งเขตแดนที่แท้จริง ใน ค.ศ. 1501 กษัตริย์มานูเอลที่ 1 แห่งโปรตุเกสจึงจัดส่งกองเรือเดินทางไปยังบราซิล โดยมีเจ้าหน้าที่คนหนึ่ง เป็นชาวอิตาลี มีนามว่า อเมริโก เวสปุสซี่ เขาเป็นหนึ่งในนักสำรวจกลุ่มแรกที่ รายงานว่าอเมริกาใต้นั้นเป็นทวีป ไม่ใช่แค่เกาะ โดยเขาขนานนามว่า "โลกใหม่" และเวสปุสซี่นักทำแผนที่ชั้นยอด ก็ได้ขายสำเนาแผนที่ของเขาหลายฉบับ ให้แก่นักเขียนแผนที่ชาวเยอรมันชื่อมาร์ติน วาล์ดเซมุลเลอร์ ผู้ให้เกียรติเวสปุสซี่ โดยเขียนชื่อแรกของเขาลงในทวีปอเมริกาใต้ เมื่อวาล์ดเซมุลเลอร์ได้เขียนแผนที่นั้นใหม่ใน ค.ศ. 1507 ตั้งแต่นั้นมาทวีปที่อยู่ทางด้านใต้นี้จึงเป็นที่รู้จักกันในนาม "อเมริกา"
การ แล่นเรือรอบโลกครั้งแรก
การแล่นเรือรอบโลกครั้งแรก นำโดย เฟอร์ดินานด์ แมกเจลแลน ซึ่งเกิดที่เมืองโอปอร์โต ประเทศโปรตุเกส ใน ค.ศ. 1480 และเมื่อ ค.ศ. 1505 เขาถูกเกณฑ์เข้ากองทัพเรือและได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเดินเรือและ การรบทางทะเลภายใต้การปกครองของผู้ครองโปรตุเกสในอินเดีย ต่อมาในปี 1509 เขาได้เข้าร่วมรบในสงคราม “the Battle of Die” ที่ทำให้โปรตุเกสได้มีอำนาจเหนือมหาสมุทรอินเดีย และเขาได้ทำการค้า จากโคชิน จีน และมะละกา เป็นเวลา 7 ปี
แมกเจลแลนเชื่อว่าเขาจะสามารถไปถึง ตะวันออกไกลได้โดยการแล่นเรือไปทางตะวันตก เช่นเดียวกับที่โคลัมบัสเคยทำได้ แต่ทว่ากษัตริย์โปรตุเกส ไม่เชื่อว่าเขาจะทำได้ แมกเจลแลนจึงกราบทูลพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ซึ่งเป็นกษัตริย์สเปนขณะนั้น ว่า อย่างน้อยที่สุดก็มีหมู่เกาะเครื่องเทศบางส่วนตั้งอยู่ในดินแดนที่ยังไม่ได้สำรวจในสเปนถึงครึ่งหนึ่ง ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1519 แมกเจลแลนเริ่มแล่นเรือพร้อมกับอีก 280 ชีวิตโดยใช้เรือ 5 ลำ (ได้แก่เรือ ซานอันโตนิโอ, ซานติเอโก, ทรินิแดด, วิกตอเรีย, และ คอนเซปซีออน) ในการเดินทางที่เต็มไปด้วยความยากลำบาก และการต่อต้าน โดยมี อันโตนิโอ พิกาเฟตตา ขุนนางชาวอิตาลีคนหนึ่งบนเรือได้บันทึก เรื่องราวการเดินทางไว้
พวกเขาได้ข้ามเส้นศูนย์สูตร เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1519 และเห็นบราซิลเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม แต่แมกเจลแลนคิดว่าเขาไม่ควร เดินทางเข้าใกล้อาณาเขตของโปรตุเกสมากไปกว่านี้เพราะเขาเดินทางมาด้วยธงชาติสเปน เขาจึงทอดสมอใกล้กับบริเวณที่เป็นเมืองริโอเดอจานีโรในปัจจุบัน เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม โดยได้รับการต้อนรับ จากชาวการ์รานี อินเดียน ซึ่งเชื่อว่าคนขาวคือพระเจ้า และจะนำแต่สิ่งดีๆ มายังพวกเขา เมื่อพวกเขาได้ตุนเสบียงไว้แล้ว จึงเริ่มเดินเรือออกไปทางใต้ จนถึงพาตาโกเนีย (อาร์เจนตินา) ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1520 เรือซานติเอโกถูกส่งไปสำรวจทางใต้ลงไปแล้วถูกพัดหายไป กับพายุโหมกระหน่ำ
ในเดือนสิงหาคม แมกเจลแลน ตัดสินใจเดินทางต่อไปทางใต้เพื่อหาเส้นทางไปสู่ ซีกโลกตะวันออก พวกเขาเริ่มเห็นช่องแคบในเดือนตุลาคม แต่แล้วในระหว่างการเดินทาง กัปตัน เรือซานอันโตนิโอได้เลี้ยวเรือกลับสู่สเปน โดยนำเสบียงจำนวนมากของกองเรือไปด้วย
เดินทางสู่มหาสมุทรแปซิฟิกอันกว้างใหญ่
และแล้วเรือทั้ง 3 ลำก็เดินทางผ่านช่องแคบ ไปสู่มหาสมุทรแปซิฟิกในช่วงสิ้นเดือนพฤศจิกายน โดยที่แมกเจลแลนคิดว่าหมู่เกาะเครื่องเทศนั้นอยู่ไม่ไกล แต่พวกเขากลับต้องเดินทางถึง 96 วันโดยไม่เห็นฝั่งเลย อีกทั้งบนเรือก็มีสภาพ แย่มาก บรรดาลูกเรือมีชีวิตอยู่ได้ด้วยขี้เลื่อย เส้นหนัง และหนู ในที่สุด ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1521 พวกเขาจึงแวะที่เกาะแห่งหนึ่งเพื่อกินอาหารมื้อใหญ่ และแล้วในเดือนมีนาคม พวกเขาก็เดินทางถึงกวม และเดินเรือต่อไปจนถึงฟิลิปปินส์ ในวันที่ 28 มีนาคม
หลังจากที่แมกเจลแลนได้เชื่อมสัมพันธไมตรี กับกษัตริย์ผู้ครองเกาะแห่งหนึ่ง เขาได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในการรบระหว่างเผ่าโดยไม่จำเป็น และ เสียชีวิตในการรบเมื่อวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 1521 จากนั้น เซบาสเตียน เดลคาโน จึงเป็นผู้บัญชาการกองเรือ พร้อมทั้งผู้รอดชีวิตอีก 115 คน และเขาได้เผาเรือคอนเซปซีออนทิ้ง เนื่องจากมีคนไม่พอในการควบคุมเรือทั้ง 3 ลำ
จากนั้นพวกเขาแล่นเรือไปยัง หมู่เกาะโมลุกกะ (หมู่เกาะเครื่องเทศ) ในเดือนพฤศจิกายน และบรรทุกเครื่องเทศที่มีค่ามาในลำเรือ และเพื่อให้แน่ใจว่าอย่างน้อยจะมีเรือสักลำสามารถกลับไปสู่สเปนได้ จึงให้เรือทรินิแดดกลับไปทาง ตะวันออกข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก ในขณะที่เรือวิกตอเรียแล่นต่อไปทางตะวันตก แต่เรือทรินิแดดถูกชาวโปรตุเกส ยึดไว้และลูกเรือเกือบทั้งหมดถูกฆ่า ส่วนเรือวิกตอเรียสามารถหนี ชาวโปรตุเกสในมหาสมุทรอินเดียมาได้ แล้วจึงแล่นเรืออ้อมแหลมกู๊ดโฮป ในวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 1522 ซึ่งเป็นเวลาเกือบ 3 ปีที่เริ่มการเดินทางครั้งประวัติศาสตร์นี้ แล้วเรือวิกตอเรีย และลูกเรืออีก 18 ชีวิต (โดยมี พิกาเฟตตา เป็นหนึ่งในนั้น) ได้เดินทางถึงสเปน พวกเขาจึงเป็น คน กลุ่มแรกที่แล่นเรือรอบโลก
การ แล่นเรือรอบโลกครั้งที่สอง
การแล่นเรือรอบโลกครั้งที่สองในประวัติศาสตร์ เป็นการเดินทางของนักสำรวจชาวอังกฤษที่เคยเป็นโจรสลัด ชื่อ ฟรานซิส เดรก (ค.ศ. 1540-1596) และเมื่อพระราชินีอลิซาเบ็ธที่ 1 เห็นว่าสเปนมีจักรวรรดิกว้างใหญ่ไพศาลมากมาย พระองค์ จึงแอบส่งเดรกให้เดินทางไปตะวันตก พร้อมทั้งมีจุดประสงค์จะคุกคามสเปนด้วย ดังนั้นวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1577 เดรกจึงเดินเรือออกจากพลีมัธ ประเทศอังกฤษ พร้อมด้วยเรือในบังคับบัญชาของเขาอีก 6 ลำ
ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1578 เรือ 5 ลำเดินทางกลับไปโดยผ่านช่องแคบแมกเจลแลน ในขณะที่เดรกยังแล่นเรือต่อไป ในโกลเดน ไฮนด์ (Golden Hind) และในช่วงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1579 เขาก็เดินทางถึงชายฝั่งที่เป็นรัฐแคลิฟอร์เนีย ในปัจจุบัน และยังเดินเรือต่อไปทางเหนือจนถึงบริเวณที่เป็นพรมแดนของสหรัฐอเมริกาและแคนาดาในปัจจุบัน จากนั้นเขาก็มุ่งไปทางตะวันตกเฉียงใต้และข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกในเวลา 2 เดือน เดรกเดินทางผ่านแถบอินดีส ข้ามมหาสมุทรอินเดีย และอ้อมแหลมกู๊ดโฮป และด้วยเหตุที่โกลเดน ไฮนด์ เต็มไปด้วยทองและเครื่องเทศ เขาจึงเดินเรือไปยัง พลีมัธในวันที่ 26 กันยายน ค.ศ. 1580 ในฐานะ กัปตันเรือคนแรก ที่แล่นเรือรอบโลก
กัปตันคุก
การเดินทางรอบโลกที่รู้จักกันทั่วไปอีกครั้งหนึ่ง คือการเดินทางของ เจมส์ คุก เขาออกเดินทางจากอังกฤษเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1768 ด้วยเรือเอนดีฟเวอร์ พร้อมลูกเรือและบรรดานักวิทยาศาสตร์รวม 94 คน ในวันที่ 11 เมษายน ค.ศ. 1769 พวกเขาเดินทางถึง ตาฮิติ จากนั้นจึงเดินทางต่อไปทางใต้ตามคำสั่งของรัฐบาลจนถึงนิวซีแลนด์ในวันที่ 6 ตุลาคม ในช่วงเดือนเมษายน ค.ศ. 1770 คุกได้สำรวจและบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับออสเตรเลีย แล้วเรือเอนดีฟเวอร์ก็ได้ เดินทางสู่ชวา โดยผ่านทางแหลมกู๊ดโฮป และเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม ค.ศ. 1771 คุก เดินเรือไปยังโดเวอร์ จากการที่เขานำการเดินทางครั้งประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน 3 ปีนี้ เขาจึงได้รับการแต่งตั้ง จากพระเจ้าจอร์จที่ 3 ให้เป็นผู้บัญชาการกองทัพเรือ
ผู้เดินเรือรอบโลกคนเดียวคนแรก
โจชัว สโลคัม ซึ่งเกิดที่โนวา สโกเทีย (Nova Scotia) ใน ค.ศ. 1844 ได้เปลี่ยนมาถือสัญชาติอเมริกัน และเป็นกัปตันสโลคัม ด้วยวัย 25 ปี และเมื่อมีอายุได้ 51 ปี สโลคัมจึงออกเดินทางจาก บอสตันในวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1895 ด้วยเรือลำเล็กขนาด 11 เมตร (37 ฟุต) ที่ชื่อว่า สเปรย์ ของเขา ซึ่งเป็น เรือจับหอยนางรมลำเก่าแก่ที่เขาสร้างขึ้นใหม่ด้วยตัวเอง
สโลคัมเดินทางข้ามมหาสมุทร แอตแลนติกไปสู่คลองสุเอซ และเมื่ออยู่ที่ยิบรอลตา เขาได้รับคำเตือนเกี่ยวกับโจรสลัดใน ทะเลเมดิเตอเรเนียน เขาจึงเดินทางย้อนกลับ โดยข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก แล้วมุ่งไปทาง ชายฝั่งบราซิล ผ่านทางช่องแคบแมกเจลแลนที่แสนหฤโหด เขาต้องเผชิญกับกระแสน้ำเชี่ยวกราก ชายฝั่งที่เต็มไปด้วยโขดหิน และทะเลที่ปั่นป่วน ในขณะที่เขาเดินเรือรอบออสเตรเลีย อ้อมแหลมกู๊ดโฮป และข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก
เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน ค.ศ. 1898 ซึ่งเป็นเวลา กว่า 3 ปีต่อมา ด้วยระยะทางกว่า 74,000 กิโลเมตร (46,000 ไมล์) โจชัว สโลคัม เดินทางสู่นิวพอร์ต ในโรดไอส์แลนด์ ในฐานะ ชายคนแรกที่แล่นเรือรอบโลกคนเดียว เขาได้บรรยายถึง การเดินทางที่โด่งดังของเขาไว้ในหนังสือ "การแล่นเรือ รอบโลก" (Sailing Around the World)
คนแรกที่เดินทางรอบโลก โดยแวะพักเพียงครั้งเดียว
คนแรกที่ได้รับการยกย่องว่าสามารถ แล่นเรือรอบโลกโดยแวะพักเพียงครั้งเดียว คือ ฟรานซิส ซีเชสเตอร์ (ค.ศ. 1902-1972) ใน ค.ศ. 1966 ซีเชสเตอร์ วัย 64 ปี ออกเดินทางด้วยเรือใบสองเสาขนาด 16 เมตร (53 ฟุต) ของเขาที่ชื่อ ยิปซีมอธที่ 4 จากอังกฤษ ในขณะที่เขาอยู่ห่างจากฝั่งออสเตรเลีย 3,700 กิโลเมตร (2,300 ไมล์ ) กลไกควบคุมทิศทางของเรือเขาก็เกิดเสีย และหลังจากเขาออกจากซิดนีย์ไม่นาน เรือยิปซีก็ พลิกคว่ำแต่ก็สามารถตั้งลำกลับได้เอง ซีเชสเตอร์ต้องเผชิญกับคลื่นสูง 15 เมตร (50ฟุต) รอบๆ แหลมฮอร์น แต่เขาก็ไม่ใช่คนประเภทที่จะก้าวถอยหลังไม่สู้กับความท้าทาย จนใน ค.ศ. 1960 เขากลายเป็นผู้ชนะเลิศ ในการเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเป็นคนแรก นอกจากนี้เขายังเป็นคนแรกของโลก ที่บินระยะทางไกลคนเดียวด้วยเครื่องบินที่ขึ้นลงในน้ำ (จากอังกฤษถึงออสเตรเลีย) และวันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1967 หลังจากเดินทางในทะเลมา 226 วัน เขาก็ได้รับการต้อนรับจากผู้คนกว่าครึ่งล้าน กลับสู่พลีมัธ ประเทศอังกฤษ
เดินทางรอบ โลกคนเดียว
ทุกวันนี้ การเดินเรือรอบโลกคนเดียวโดยไม่แวะพัก ก็ยังเป็นสิ่งที่ผู้คนสนใจอยากทำตามความฝัน เคย์ ไบลธ์ (Chay Blyth) หรือเรียกกันอีกชื่อว่า "คน เหล็ก" เป็นคนหนึ่งในจำนวนไม่กี่คนที่สามารถเดินเรือรอบโลกฝ่าลมแรง จากทางตะวันตกด้วยเรือแบบสองเสากระโดงชื่อ บริติช สตีล ใน ค.ศ. 1971 แล้ว เดินทางได้สำเร็จในเวลา 302 วัน สองปีต่อมา ชายชาวฝรั่งเศสชื่อ อเลน โคลัส (Alain Colas) เดินทาง รอบโลกด้วยเรือแบบขนานกัน 3 ลำ ชื่อ มานูเรวา อ้อมแหลมขนาดใหญ่ 3 แห่ง โดยใช้เวลาเพียง 129 วัน
ผู้หญิงคนแรก ที่แล่นเรือ รอบโลก เป็นชาวอังกฤษ ชื่อ ลิซ่า เคลย์ตัน เธอเริ่มเดินทางด้วยเรือ เหล็กขนาด 11 เมตร (38 ฟุต) ชื่อ สปิริตออฟเบอร์มิงแฮม จากดาร์ทมัธ ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 17 กันยายน ค.ศ. 1994 และสิ้นสุดการเดินทางที่แสนเหน็ดเหนื่อยในอีก 285 วันต่อมา
โจนาธาน แซนเดอร์ส (Jonathan Sanders) แล่นเรือรอบโลก 5 ครั้งด้วยตัวคนเดียว และยังประสบความสำเร็จในการแล่นเรือรอบโลก 3 รอบ โดยไม่แวะพักเลย นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1986 ถึงเดือนมีนาคม ค.ศ. 1988 เป็นระยะทาง 128,000 กิโลเมตร (80,000 ไมล์) การแล่นเรือรอบโลกเริ่มเป็นที่นิยมอย่างสูงเช่นเดียวกับการแข่งขัน Whitbread จากนั้นชาวฝรั่งเศสชื่อ ฟิลิป ชองโตท์ (Philippe Jeantot) ก็เป็นผู้เริ่มต้นแนวคิดการแข่งขันเดินทางคนเดียวรอบโลก โดยไม่แวะพัก
การแข่งขัน
ใน ค.ศ. 1982 บริษัทแห่งหนึ่งในอังกฤษได้ริเริ่ม การแข่งขันบีโอซี ชาเลนจ์ แบบคนเดียวรอบโลก ซึ่งในปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น รอบโลกคนเดียว มีกติกาว่า "คนเดียว เรือลำเดียว รอบโลก" การแข่งขันประเภทนี้เป็นการแข่งขันที่ใช้เวลานานที่สุด ในโลกสำหรับกีฬาที่แข่งขันเดี่ยว โดยเดินทางเป็นระยะทาง 43,000 กิโลเมตร (27,000 ไมล์) ในมหาสมุทรที่มีคลื่นลมแรงที่สุดและห่างจากฝั่งมากที่สุด ส่วนเส้นชัยนั้นอยู่ห่างออกไปเป็นระยะทางของโลก หนึ่งใบ (การแข่งขันครั้งต่อไปจะเริ่มวันที่ 26 ก.ย.)
การชิงชัยเพื่อให้ได้เป็น คนแรกในการเดินทางรอบโลกด้วย บอลลูนที่ใช้ลมร้อน


See: ผู้พิชิตแห่งท้องทะเล 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น