วันอาทิตย์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2557

วันเมษาหน้าโง่ 

วันเมษาหน้าโง่ หรือ วันเอพริลฟูล (อังกฤษ: April Fool's Day) เฉลิมฉลองในหลายประเทศในวันที่ 1 เมษายนของทุกปี ซึ่งวันที่ 1 เมษายนนี้มิใช่วันหยุดราชการ แต่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง และเฉลิมฉลองเป็นวันที่หลายคนจะเล่นมุขตลกและความเขลาทุกแบบ วันนี้เป็นวันแห่งการสำราญ หรือมิฉะนั้นก็มุขตลก การหลอกลวง และการแกล้งอื่นๆ ที่มีระดับการตบตาต่างๆ กัน กับเพื่อน สมาชิกครอบครัว ครูอาจารย์ เพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมงาน เป็นต้น
เดิม เด็กฝรั่งเศสและอิตาลี (ซึ่งอาจรวมผู้ใหญ่ด้วย เมื่อเหมาะสม) ติดปลากระดาษบนหลังของอีกฝ่ายเมื่อเป็นการตบตา และตะโกน "april fish!" (ปลาเมษา) ในภาษาท้องถิ่นของตน
การเชื่อมโยงระหว่างวันที่ 1 เมษายนกับความเขลาเก่าแก่ที่สุดที่มีบันทึกสามารถพบได้ใน ตำนานแคนเตอร์บรี ของชอเซอร์ (ค.ศ. 1392) นักเขียนจำนวนมากเสนอว่า การฟื้นฟูวันที่ 1 มกราคมเป็นวันขึ้นปีใหม่ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 มีผลต่อการสร้างสรรค์วันดังกล่าว แต่ทฤษฎีนี้มิได้อธิบายการอ้างถึงก่อนหน้านั้น

กำเนิด

ต้นเค้าของวันเมษาหน้าโง่มีเทศกาลฮิลาเรียของโรมัน ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 25 มีนาคมและเทศกาลคนโง่ในสมัยกลาง จัดขึ้นวันที่ 28 ธันวาคม และยังคงเป็นวันซึ่งมีการเล่นตลกอยู่ในประเทศที่พูดภาษาสเปน
ใน ตำนานแคนเตอร์บรี ของชอเซอร์ "ตำนานของแม่ชีของพระ" (Nun's Priest's Tale) ซึ่งเรื่องมีขึ้น "Syn March bigan thritty dayes and two"[1] นักวิชาการสมัยใหม่เชื่อว่ามีความผิดพลาดในการทำสำเนาในเอกสารเขียนต้นฉบับเท่าที่มีอยู่ และชอเซอร์แท้จริงแล้วเขียนว่า "Syn March was gon"[2] ดังนั้น วลีนี้เดิมจึงหมายถึง 32 วันหลังเดือนเมษายน คือ 2 พฤษภาคม[3] วันครบรอบการหมั้นระหว่างสมเด็จพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษกับแอนน์แห่งโบฮีเมีย ซึ่งเกิดขึ้นใน ค.ศ. 1381 ผู้อ่านกลับเข้าใจผิดว่าวลีนี้หมายถึง "32 มีนาคม" หรือ 1 เมษายน ในตำนานของชอเซอร์ ไก่ตัวผู้ที่หลงตัวเองถูกสุนัขจิ้งจอกตบตา
ในสมัยกลาง วันขึ้นปีใหม่เฉลิมฉลองกันในวันที่ 25 มีนาคมในเมืองยุโรปส่วนมาก[4] ในบางพื้นที่ของฝรั่งเศสเป็นวันหยุดนานหนึ่งสัปดาห์ที่สิ้นสุดลงในวันที่ 1 เมษายน[5][6] นักเขียนจำนวนมากเสนอว่า วันเมษาหน้าโง่ถือกำเนิดขึ้นเพราะผู้ที่เฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 มกราคม ล้อคนที่เฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่วันอื่น[5] การใช้วันที่ 1 มกราคมเป็นวันขึ้นปีใหม่นั้นพบทั่วไปในฝรั่งเศสเมื่อถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16[3] และวันนี้ได้รับมาอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1564 โดยกฤษฎีการูสิยอง (Edict of Roussillon)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น