วันจันทร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2557

ประเทศคอซอวอ

ประเทศคอซอวอ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐคอซอวอ
Republika e Kosovës (แอลเบเนีย)
Република Косово (เซอร์เบีย)
เพลงชาติยุโรป (Europe)
ตำแหน่งของคอซอวอในทวีปยุโรป
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
พริชตีนา
42°40′N 21°10′E / 42.667°N 21.167°E / 42.667; 21.167
ภาษาทางการภาษาแอลเบเนียและภาษาเซอร์เบีย
การปกครองสาธารณรัฐ
 - ประธานาธิบดีอาทีเฟเท ยาห์ยากา
 - นายกรัฐมนตรีฮาชิม ทาชี
ประกาศเอกราช1จาก เซอร์เบีย 
 - ประกาศ17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 
พื้นที่
 - รวม10,887 ตร.กม. (166)
4,203 ตร.ไมล์ 
 - แหล่งน้ำ (%)ไม่มี
ประชากร
 - 2007 (ประเมิน)1.9 ล้าน (141)
 - ความหนาแน่น220 คน/ตร.กม. (55)
569.8 คน/ตร.ไมล์
สกุลเงินยูโร2 (€) (EUR)
เขตเวลาCET (UTC+1)
 - (DST)CEST (UTC+2)
1การประกาศเอกราชได้รับการรับรองในระดับนานาชาติเพียงบางส่วน
2ดีนาร์เซอร์เบียใช้กันในเขตอาศัยของชาวเซิร์บและเขตนอร์ทคอซอวอ
คอซอวอ หรือ โคโซโว (เซอร์เบีย: Косово, Kosovo; แอลเบเนีย: Kosovë, Kosova) เป็นภูมิภาคหนึ่งในคาบสมุทรบอลข่าน ติดกับประเทศเซอร์เบียทางทิศเหนือ มอนเตเนโกรทางตะวันตก แอลเบเนียและสาธารณรัฐมาซิโดเนียทางใต้ ไม่มีทางออกสู่ทะเล คอซอวอได้ประกาศเป็นรัฐเอกราชแบบเอกภาคีในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ใช้ชื่อว่า สาธารณรัฐคอซอวอ (Republic of Kosovo) มีการรับรองจากบางประเทศ ในขณะที่เซอร์เบียยังคงถือว่าคอซอวอเป็นจังหวัดปกครองพิเศษของตน
เมืองหลวงของคอซอวอคือพริชตีนา (Priština) จำนวนประชากรทั้งจังหวัดประมาณ 2 ล้าน 1 แสนคน ส่วนใหญ่เป็นชาติพันธุ์แอลเบเนีย (ร้อยละ 92) ชาวเซิร์บ (ร้อยละ 5.3) และมีชาวตุรกี ชาวบอสเนีย กลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ อีกเล็กน้อย (รวมกันร้อยละ 2.7)
คอซอวออยู่ภายใต้การบริหารของสหประชาชาติมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ในขณะที่เอกราชของเซอร์เบียนั้นเป็นที่ยอมรับในประชาคมโลก โดยแท้จริงแล้ว การปกครองของเซอร์เบียมิได้ปรากฏในจังหวัดนี้เลย องค์กรที่ปกครองคอซอวออยู่คือคณะทำงานสหประชาชาติในคอซอวอ (United Nations Mission in Kosovo: UNMIK) และสถาบันการปกครองตนเองชั่วคราวของท้องถิ่น (Provisional Institutions of Self-Government) โดยมีกองกำลังคอซอวอ (Kosovo Force: KFOR) ภายใต้การนำขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO) เป็นผู้รักษาความมั่นคง
จังหวัดคอซอวอเป็นประเด็นความขัดแย้งทางการเมืองและดินแดนมานานระหว่างชาวเซอร์เบีย (ก่อนหน้านี้คือชาวยูโกสลาฟ) กับชาวแอลเบเนียซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของจังหวัด การเจรจาในระดับนานาชาติเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2549 เพื่อตัดสินสถานะสุดท้าย จากรายงานของสื่อแขนงต่าง ๆ คาดกันว่า การเจรจาจะนำมาซึ่งเอกราชของดินแดนแห่งนี้ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง[1][2][3][4] ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 รัฐสภาของคอซอวอประกาศเอกราชของประเทศแต่เพียงฝ่ายเดียว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น