วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557

ท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ท่าเรือเซี่ยงไฮ้ใหญ่ที่สุดในโลก!  มาแรงแซงหน้าสิงคโปร์
ท่าเรือขนาดใหญ่ของเซี่ยงไฮ้ นามว่า "ไว่เกาเฉียว" กลายมาเป็นที่เรือที่ล้นหลามไปด้วยตู้คอนเทนเนอร์ขนส่งสินค้านานาชนิด เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เซี่ยงไฮ้กลายมาเป็นท่าเรืออันดับหนึ่งของโลก
        เอเยนซี - เจ้าหน้าที่ของท่าเรือท้องถิ่นเผยวันที่ 20 ก.ย.ว่า ท่าเรือขนส่งเซี่ยงไฮ้ กลายเป็นท่าเรือคอนเทนเนอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก แซงหน้าสิงคโปร์แล้วในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา อีกทั้งยังสามารถเป็นฐานการส่งออกที่แข้มแข็งของจีน
      
       ผู้สังเกตการณ์ด้านการตลาดเปิดเผยว่า “เดือนสิงหาคมเป็นช่วงส่งออกสูงสุด และความต้องการของผู้บริโภคมีมาก จนกระทั่งผลักดันให้ปริมาณการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์เพิ่มสูงขึ้น เซี่ยงไฮ้จึงกลายมาเป็นท่าเรือที่ตอบสนองต่อความต้องการสินค้าของประเทศในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกทั้งหมด”
ท่าเรือเซี่ยงไฮ้ใหญ่ที่สุดในโลก!  มาแรงแซงหน้าสิงคโปร์
สะพานระยะทาง 30 กม. เชื่อมท่าเรือเซี่ยงไฮ้ กับแผ่นดินใหญ่
        สถานีตรวจสินค้าเข้า-ออกของเซี่ยงไฮ้ระบุ เมื่อเดือนที่ผ่านมาจำนวนตู้คอนเทนเนอร์ของเซี่ยงไฮ้เพิ่มขึ้นถึง 2.64 ล้านตู้ คิดเป็นร้อยละ 20.7 และในช่วงแปดเดือนแรกของปี (2553) มีตู้คอนเทนเนอร์เป็นจำนวนสูงถึง 19.06 ล้านตู้
      
       ส่วนตู้คอนเทนเนอร์ของท่าเรือสิงคโปร์ลดระดับลงมาอยู่ที่ 2.43 ล้านตู้ คิดเป็นร้อยละ 4 ในเดือนสิงหาคม และหากคิดในช่วงแปดเดือนแรกของปี (2553) สิงคโปร์มีตู้คอนเทนเนอร์ 19.01 ล้านตู้ ซึ่งน้อยกว่าเซี่ยงไฮ้
ท่าเรือเซี่ยงไฮ้ใหญ่ที่สุดในโลก!  มาแรงแซงหน้าสิงคโปร์
ท่าเรือขนาดใหญ่ของเซี่ยงไฮ้ นามว่า "ไว่เกาเฉียว" กลายมาเป็นที่เรือที่ล้นหลามไปด้วยตู้คอนเทนเนอร์ขนส่งสินค้านานาชนิด
        เจ้าหน้าที่ของท่าเรือท้องถิ่นอ้างบันทึกปริมาณการส่งออกของจีนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากว่า จีนได้แซงหน้าเยอรมนีในการเป็นประเทศผู้ส่งออกมากที่สุดในปี 2552 การส่งออกของจีนสูงขึ้นร้อยละ 34.4 ต่อปี คิดเป็นจำนวนเงิน139,300 ล้านดอลลาร์
      
       ส่วนการขยายตัวทางการค้าของเซี่ยงไฮ้ในแปดเดือนแรกอยู่ที่ร้อยละ 39.3 คิดเป็น 235,500 ล้านดอลลาร์ ประกอบกับการส่งออกที่เพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 33.1 จากปีก่อนหน้า คิดเป็นจำนวนเงินถึง 115,500 ล้านดอลลาร์
      
       รัฐบาลจีนได้กำหนดแนวทางเพื่อผลักดันให้เซี่ยงไฮ้กลายเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางทะเลภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ.2020) ด้วยมาตรการหลายประการ ได้แก่ โครงการทดลองยกเว้นภาษีผ่านด่านสำหรับบริษัทเรือขนส่งสินค้า การให้แรงจูงใจในการสร้างระบบนายหน้าการค้าทางเรือ และการกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือระหว่างบริษัทประกันภัยกับบริษัทเรือขนส่ง
       

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น