| ||
ฮาโลวีน (สะกดได้อีกแบบหนึ่งคือ ฮันโลวีน, ฮัลโลวีน, ฮาโลวีน) เป็นวันหยุดประจำปีซึ่งฉลองในวันที่ 31 ตุลาคม วันฮาโลวีนมีรากฐานมาจากเทศกาลของเซลติคที่ชื่อว่า Samhain และวันศักดิ์สิทธิ์ของชาวคริสเตียนในการระลึกถึงนักบุญออนเซ็นต์ ในวันนี้มีการเฉลิมฉลองทางโลก แต่อีกนัยหนึ่งก็เกี่ยวข้องกับศาสนาด้วย ซึ่งชาวไอริชที่ประสบปัญหาข้าวยากหมากแพงในประเทศของตน ได้อพยพย้ายถิ่นเข้ามาที่ทวีปอเมริกาเหนือช่วงทศวรรษที่ 1840 เป็นผู้นำประเพณีนี้เข้ามาเผยแพร่
สีส้มและดำเป็นสีประจำของวันฮาโลวีน และมีตัวแจ็คโอแลนเทิร์นเป็นสัญลักษณ์ ส่วนกิจกรรมประจำเทศกาลก็จะมีการเล่น ‘ทริค ออ ทรีท’ มีการแต่งตัวเป็นผีไปร่วมงานปาร์ตี้ เล่นเกมทดสอบความกล้า เล่นรอบกองไฟ ผจญภัยในสถานที่สยองขวัญ เล่นพิเรน อ่านเรื่องสยองขวัญ และชมภาพยนต์สยองขวัญ | ||
| ||
วันฮาโลวีนมีจุดกำเนิดมาจากเทศกาลของชาวเซลติคโบราณซึ่งรู้จักในชื่อ Samhain มีที่มาจากชาวไอริชโบราณ ถือกันว่า เป็นวันสิ้นสุดของฤดูร้อน ซึ่งชาวบริตอนโบราณก็มีประเพณีคล้ายกันนี้ เรียกว่า Calan Gaeaf เทศกาล Samhain นั้น มีขึ้นเพื่อฉลองจุดสิ้นสุดของช่วงสว่างแห่งปี และเข้าสู่ช่วงมืดของปี ทั้งยังถือกันว่าเป็นวันปีใหม่ของชาวเซลติคอีกด้วย
เทศกาลนี้ ชนบางกลุ่มก็ใช้ชื่อว่า เทศกาลแห่งความตาย (Festival of the dead) ชาว เซลท์ โบราณเชื่อว่าเป็นวันที่โลกนี้ และโลกหน้า โคจรมาอยู่ใกล้กันมากที่สุด ทำให้เหล่าวิญญาณ (ทั้งที่มีอันตรายและไม่มีอันตราย) สามารถผ่านเข้าออกได้อย่างอิสระ ซึ่งวิญญาณของบรรพบุรุษที่เคารพจะได้รับการต้อนรับกลับบ้าน ในขณะที่วิญญาณร้ายจะถูกขับไล่ โดยมีความเชื่อกันว่าการที่จะสามารถขับไล่วิญญาณร้ายได้นั้น สามารถทำได้ด้วยการสวมชุดและหน้ากากผี ซึ่งมีจุดประสงค์คือการแฝงตัวเป็นวิญญาณร้ายซะเอง เพื่อหลีกเลี่ยงอันตราย ในสก๊อตแลนด์ ผู้ชายวัยรุ่นจะแต่งตัวเลียนแบบผีด้วยการสวมชุดขาว สวมหน้ากาก สวมผ้าคลุมหน้า หรือทาหน้าเป็นสีดำ เทศกาล Samhain ยังเป็นวันแห่งการตุนอาหารไว้สำหรับฤดูหนาว และมีการเล่นรอบกองไฟในหลายพื้นที่ ไฟและแสงสว่างประเภทอื่นจะถูกดับลง และบ้านแต่ละหลังจะจุดไฟในเตาโดยใช้เชื้อไฟจากกองไฟ ส่วนกระดูกของสัตว์ที่ใช้เป็นอาหาร จะถูกโยนเข้าไปในเปลวเพลิงนี้ บางครั้ง กองไฟ 2 กองจะถูกจุดไว้ข้าง ๆ กัน แล้วผู้คนกับสัตว์ที่เลี้ยงไว้เป็นอาหารจะเดินวนระหว่างสองกองไฟ ถือเป็นพิธีการชะล้าง | ||
| ||
คำว่า ฮาโลวีน (Halloween) เดิมทีนั้นสะกดเป็น ฮันโลวีน, ฮัลโลวีน, ฮาโลวีน เป็นคำย่อของคำว่า Hallows' (ฮอลโลว, ฮาโลว) Even (อีเว้น) และคำว่า e'en ก็เป็นคำย่อของคำว่า even ซึ่งย่อมาจากคำว่า “evening (ค่ำ) ซึ่งเป็นคำที่มีรากคำมาจากภาษาอังกฤษโบราณ ปัจจุบันเป็นที่รู้จักในชื่อ “วันอีฟ ออฟ ออลเซ็นต์” ซึ่งตรงกับวันที่ 1 พฤศจิกายน
ช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลองของพวกนอกรีต ที่สันตะปาปา เกรกอรี่ที่สาม (731–741) และเกรกอรี่ที่สี่ (827–844) พยายามจะให้แทนที่เป็นงานฉลองวันหยุดของชาวคริสเตียน (วันออลเซ็นต์) โดยการย้ายจากวันที่ 13 พฤษภาคม เป็น 1 พฤศจิกายน ในช่วงศตวรรษที่ 800 โบสถ์ต่าง ๆ ถือเอาวันนี้เป็นวันเริ่มต้นของพระอาทิตย์ตกดิน ซึ่งถือตามปฏิทินฟรอเรนไทน์ ซึ่งแม้ว่า วันออลเซ็นต์ในปัจจุบัน ให้นับเป็นวันที่ถัดจากวันฮาโลวีน 1 วันแล้วก็ตาม แต่การจัดงานฉลองและกิจกรรมต่าง ๆ ของทั้งสองวันนั้น จะทำกันในวันเดียวกัน | ||
| ||
ในวันฮาโลวีนอีฟ ชาว เซลท์ โบราณจะแขวนโครงกระดูกไว้ตรงธรณีหน้าต่าง เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความตาย ประเพณีนี้มีจุดกำเนิดในยุโรป จะมีการแกะสลักโคมไฟจากหัวผักกาด เพราะมีความเชื่อว่าหัวเป็นส่วนที่มีพลังที่สุดของร่างกาย ประกอบไปด้วยจิตวิญญาณและภูมิความรู้ ซึ่งชาวเซลท์ จะใช้ส่วนหัวของผักมาขับไล่วิญญาณร้าย ตำนานของเวลส์ ไอริช และบริททิช จะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับหัวที่ทำด้วยทองเหลือง ซึ่งเป็นเรื่องราวการล่าหัวมนุษย์ที่แพร่หลายในหมู่ชาวเซลทิคโบราณ ซึ่งมักจะนำเอาหัวที่ล่ามาได้นี้ไปตอกตะปูตรึงไว้ที่ทับหลังประตู หรือเอาไปวางไว้ข้างเตาไฟ เพื่อประกาศถึงความหลักแหลม ชื่อของแจ็ค โอ แลนเทิร์นมีที่มาจากแจ็คชาวนาเฒ่า ขี้ตืด ติดพนัน และขี้เมา เขาหลอกปีศาจให้ปีนต้นไม้ที่ทำกับดักเป็นรูปสลักไม้กางเขนไว้ที่ลำต้น เพื่อไม่ให้ปีศาจกลับลงมาได้ ปีศาจได้แก้แค้นโดยการสาปแช่งแจ็ค ให้เขาร่อนเร่ไปยามค่ำคืนด้วยไฟดวงเดียวที่เขามี คือมีเทียนเล่มเดียวปักอยู่ในโพรงของหัวผักกาด แต่ในอเมริกาเหนือสามารถหาฟักทองได้ง่ายกว่าหัวผักกาด ทั้งยังมีขนาดใหญ่กว่าจึงหันมาแกะสลักฟักทองแทนหัวผักกาด หลายครอบครัวจะฉลองฮาโลวีนโดยการแกะสลักฟักทองเป็นรูปร่างน่ากลัวหรือรูปหน้าตลกแล้วไปวางที่ธรณีประตูในยามมืด ประเพณีการแกะสลักฟักทองเริ่มต้นเข้ามาในอเมริกาเหนือในยุคที่ชาวไอริชประสบภาวะข้าวยากหมากแพง และเกี่ยวเนื่องกับช่วงเวลาของการเก็บเกี่ยวพืชผล ซึ่งประเพณีการแกะสลักนี้ ในช่วงแรกไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับเทศกาลฮาโลวีนเลย จนกระทั่ง กลางถึงปลายศตวรรษที่ 1800
ภาพรวมของวันฮาโลวีนส่วนใหญ่จะผสมผสานกันระหว่างผลงานของโกธิค และนวนิยายสยองขวัญที่เกี่ยวกับแฟงเคนสไตน์และแดร็คคูล่า เป็นเวลาเกือบศตวรรษแล้วที่ผู้สร้างหนังชาวอเมริกัน ,ศิลปินภาพกราฟฟิกและ บริษัทผลิตภาพยนตร์ของอังกฤษ “British Hammer Horror productions” มักผลิตผลงานสยองขวัญลึกลับออกมา เพราะเมื่อเอ่ยถึงวันฮาโลวีนก็จะต้องเกี่ยวกับความตาย ปีศาจร้าย ตำนานเกี่ยวกับเวทมนต์และอสูรกายในตำนาน ซึ่งตัวละครพื้นฐานดั้งเดิม ได้แก่ ซาตาน พญามัจจุราช ภูตผี ปิศาจ ผีดิบ แม่มด ก็อปลินส์ แวมไพร์ ผีดูดเลือด มนุษย์หมาป่า ซอมบี้ โครงกระดูก แมวดำ แมงมุม ค้างคาว นกฮูก นกกา นกแร้ง สัญลักษณ์วันฮาโลวีนในอเมริกาได้รับแรงบันดาลใจมาจากภาพยนต์สยองขวัญคลาสสิก (ซึ่งมักมีตัวละครจากบทภาพยนตร์ เช่น อสูรกายแฟงเคนสไตน์ และมัมมี่) สภาพอากาศจะอยู่ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งมีสิ่งของที่เป็นสัญลักษณ์อันได้แก่ ฟักทอง เปลือกข้าวโพด และหุ่นไล่กา บ้านเรือนต่าง ๆ มักจะประดับตกแต่งด้วยสิ่งของที่เป็นสัญลักษณ์ตามที่ได้กล่าวไป ซึ่งสีส้มและดำเป็นสีประจำเทศกาลฮัลโลวีน | ||
| ||
ทริค ออ ทรีท เป็นการละเล่นตามประเพณีฮาโลวีนของพวกเด็ก ๆ โดยพวกเด็ก ๆ มักจะแต่งตัวแล้วออกไปตามบ้านต่าง ๆ เพื่อขอขนม ลูกอม หรือบางครั้งก็เป็นเงิน ด้วยคำถามที่ว่า “ทริค ออ ทรีท?” คำว่า ทริค (trick) หมายถึง หากเจ้าบ้านไม่ทำการ ‘treat’ คือมอบสิ่งของตามที่เด็ก ๆ ร้องขอ ก็จะก่อกวนเจ้าบ้านหรือบริเวณที่พักอาศัย ซึ่งในบางพื้นที่ของไอร์แลนด์และสก็อตแลนด์เด็กๆจะร้องเพลง หรือเล่าเรื่องผีเพื่อแลกกับการที่เจ้าบ้านยอม ‘treat’
| ||
| ||
เครื่องแต่งกายประจำเทศกาลฮาโลวีน คือแต่งเป็นสัตว์ประหลาด เช่นผีร้าย โครงกระดูก แม่มด และภูต สาเหตุก็เนื่องมาจาก เพื่อต้องการทำให้ปิศาจร้ายกลัว ซึ่งการแต่งกายส่วนใหญ่มักจะเอาแบบอย่างมาจากบทประพันธ์มากกว่าที่จะเป็นความเชื่อของท้องถิ่น เช่น ตัวละครต่าง ๆ จากโทรทัศน์ ภาพยนตร์ และสิ่งอื่น ๆ ที่มีชื่อเสียง
| ||
| ||
บิก รีเสิร์ท ดำเนินการสำรวจสำ กลุ่มการค้าปลีกแห่งชาติ ในสหรัฐอเมริกาและพบว่า 53.3% ของผู้บริโภคตั้งใจจะซื้อเครื่องแต่งกายสำหรับวันฮาโลวีนในปี 2005 โดยใช้จ่ายเฉลี่ยแล้ว 38.11 เหรียญ (ซึ่งเพิ่มจากปีที่แล้ว 10 เหรียญ) พวกเขายังคาดว่าในปี 2006 จะใช้จ่ายเงิน 4.96 พันล้านเหรียญ ซึ่งจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 3.3 พันล้านเหรียญ
| ||
| ||
การเล่นทริค ออ ทรีท กลายมาเป็นกิจกรรมการหาเงินบริจาคขององค์การยูนิเซฟในทวีปอเมริกาเหนือ โดยเริ่มจากการเป็นงานประจำของท้องถิ่นในแถบชานเมืองฟิลาเดลเฟียในปี 1950 และขยายวงกว้างออกไปทั่วประเทศในปี 1952 โดยโรงเรียนจะมอบกล่องรับบริจาคให้เด็กๆที่ออกไปเล่น ทริค ออ ทรีท เพื่อรับบริจาคจากบ้านต่างๆที่เด็กๆไปเยือน (บางครั้งก็จะขอเงินสนับสนุนจากสปอนเซอร์ เช่น ห้างฮอลมาร์ค) ซึ่งเด็กๆสามารถหาเงินบริจาคให้กับองค์การยูนิเซฟ ได้มากกว่า 118 ล้านเหรียญสหรัฐนับตั้งแต่เริ่มกิจกรรม ในปี 2006 ยูนิเซฟในแคนาดาได้ยุติการรับบริจาคในช่วงฮาโลวีนด้วยเหตุผลทางด้านความปลอดภัยของเมืองและด้านการบริหาร และหลังจากที่หารือกับโรงเรียนต่าง ๆ แล้วจึงตัดสินใจที่จะคิดรูปแบบใหม่ในการขอรับเงินบริจาค
| ||
| ||
งานปาร์ตี้ในวันฮาโลวีนมักจะมีการเล่นเกมส์ต่างๆ ซึ่งหนึ่งในเกมส์ยอดนิยมคือเกมส์แอปเปิลจุ่มน้ำ คือการเอาแอปเปิลไปแช่ไว้ในถังหรือกะละมังแล้วผู้เล่นต้องคาบแอปเปิลออกจากถัง ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงรูปการละเล่นไปบ้าง เช่น นั่งคุกเข่าบนเก้าอี้ แล้วคาบส้อมไว้ แล้วพยายามปล่อยส้อมให้ไปจิ้มบนลูกแอปเปิล ส่วนอีกเกมส์หนึ่งก็คือการใช้เชือกแขวนน้ำเชื่อมหรือโดนัทแล้วให้ผู้เล่นกินโดนัทนั้นโดยไม่ใช้มือ ซึ่งจะทำให้หน้าตาผู้เล่นเปอะเปื้อน
บางเกมส์ที่เล่นในวันฮาโลวีนมักจะเป็นไปในทางการทำนายทายทัก เช่นชาวไอริชและสก็อตติชจะทำนายเนื้อคู่โดยการปอกเปลือกแอปเปิลให้เป็นเส้นยาวโดยไม่ขาดจากกัน แล้วโยนเปลือกนั้นข้ามไหล่ไป เปลือกแอปเปิลนั้นก็จะปรากฎเป็นตัวอักษรนำหน้าชื่อเนื้อคู่ของเรา ซึ่งความเชื่อนี้ ถูกนำเข้ามาจากผู้ที่ย้ายถิ่นฐานชาวไอริชและสก็อตติชในแถบชนบทของอเมริกา ส่วนความเชื่ออีกอย่างหนึ่งที่ถูกเล่าต่อ ๆ กันมา คือ หากผู้หญิงโสดนั่งอยู่ในห้องมืดแล้วเพ่งมองกระจกในคืนวันฮาโลวีน จะปรากฎหน้าเนื้อคู่ให้เห็นในกระจก และหากเห็นเป็นโครงกระดูกแทนที่จะเป็นรูปหน้าคนก็หมายความว่าผู้หญิงคนนั้นจะเสียชีวิตก่อนแต่งงาน ความเชื่อนี้ได้ขยายวงกว้างออกไปจนปรากฎอยู่บนการ์ดอวยพรในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20 การเล่าเรื่องผีและการชมภาพยนต์สยองขวัญก็เป็นส่วนหนึ่งในงานปาร์ตี้วันฮาโลวีน ส่วนซีรีย์ชุดที่มีเรื่องราวพิเศษ ๆ เกี่ยวกับวันฮาโลวีน (มักจะตั้งเป้ากลุ่มผู้ชมที่เป็นเด็ก) มักจะมีการออกอากาศก่อนวันฮาโลวีน ในขณะที่ภาพยนต์สยองขวัญ ส่วนใหญ่จะเข้าโรงและฉายในช่วงก่อนจะถึงวันหยุดฮาโลวีนเพื่อให้เข้ากับบรรยากาศ | ||
| ||
บ้านผีสิงก็จะถูกจัดขึ้นเพื่อสร้างความบันเทิงเชิงสยองขวัญ ซึ่งมักจะเป็นธุรกิจที่เกิดในช่วงเทศกาลฮาโลวีน จุดกำเนิดนั้นไม่สามารถระบุได้ชัดเจน แต่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วกันว่ามีที่มาจากการระดมทุนของ Junior Chamber International (เจซี) เมื่ออุตสาหกรรมของกิจกรรมดังกล่าวเติบโตขึ้น ก็มีการรวมเอาบ้านผีสิง เขาวงกต การนั่งรถบรรทุกหญ้าแห้ง ซึ่งมีความสมจริงมากขึ้น มาคอยให้บริการในช่วงวันฮาโลวีน ซึ่งกิจกรรมสยองขวัญเหล่านี้สามารถทำเงินในอเมริกาได้ราว 300-500 ล้านเหรียญต่อปี โดยมีลูกค้าราว 400,000 คน ซึ่งได้รับความนิยมสูงสุดในปี 2005 การที่คนให้ความสนใจกันมากขึ้นนำไปสู่การค้นคว้าหาเทคนิคใหม่ ๆ เพื่อให้เกิดความสมจริงยิ่งขึ้นให้เท่าเทียมกับที่ใช้ในการถ่ายทำภาพยนต์ฮอลลีวูด
| ||
| ||
- อมยิ้มแอปเปิล
เนื่องจากเป็นฤดูการเก็บเกี่ยวแอปเปิล อมยิ้มแอปเปิลจึงกลายมาเป็นขนมประจำเทศกาล (รู้จักกันในชื่อของ ทอฟฟี่แอปเปิล ภายนอกอเมริกาเหนือ) อมยิ้มแอปเปิลเคลือบคาราเมล หรือลูกกวาดแอปเปิล กลายเป็นสัญลักษณ์ของ treat ในเทศกาลฮาโลวีน ซึ่งมีวิธีทำ คือ กลิ้งลูกแอปเปิลบนน้ำเชื่อม บางครั้งก็มีการเพิ่มถั่วเข้าไปด้วย อีกหนึ่งอาหารของชาวไอริชที่ยังคงมีอยู่จนถึงทุกวันนี้ คือ เค้กลูกเกด เป็นเค้กผลไม้แบบเบาๆ ซึ่งจะสอดไส้ แหวน เหรียญ หรือสิ่งต่างๆเข้าไปก่อนอบ และหากใครกินเข้าไปแล้วเจอแหวน ก็จะได้พบกับรักแท้ในปีต่อมา ซึ่งจะคล้ายกับประเพณี “King cake” ในเทศกาล Epiphany | ||
| ||
+ Apple cider (unfiltered apple juice)
น้ำผลแอปเปิล (น้ำแอปเปิลที่ไม่ผ่านการกรอง) + Barmbrack (Ireland) เค้กลูกเกด (ไอร์แลนด์) + Bonfire toffee (Britain) ลูกอมบอนไฟร์ (อังกฤษ) + Candy corn (North America) ลูกอมข้าวโพด (อเมริกาเหนือ) + Caramel corn ข้าวโพดคาราเมล + Colcannon (Ireland) คอนแคนนอน (ไอร์แลนด์) + Pumpkin, pumpkin pie, pumpkin bread ฟักทอง พายฟักทอง ขนมปังฟักทอง + Roasted pumpkin seeds เมล็ดฟักทองคั่ว + Roasted sweet corn ข้าวโพดคั่วรสหวาน + Soul cakes เค้กโซล + Novelty candy shaped like skulls, pumpkins, bats, worms, etc. ลูกอมแปลกๆ ที่มีรูปร่างเหมือนโครงกระดูก ฟักทอง ค้างคาว หนอน เป็นต้น | ||
วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
Halloween
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น